วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประจำเดือน และการออกกำลังกาย


ประจำเดือน และการออกกำลังกาย


ปัญหาที่หลายๆคนถามถึง แต่คำตอบก็ไม่เคยแน่นอนซะที ตกลงว่าจะออกกำลังกายดีหรือไม่ดีนะ จะมีผลอะไรกับร่างกายรึเปล่า ลองอ่านบทความนี้ดูค่ะ

การมีประจำเดือน อาจมีผลกระทบต่ออารมณ์ของสาวๆ แต่ความจริงแล้ว มันไม่ได้เป็นปัญหากับตารางการออกกำลังกายของเราเลย จริงอยู่ที่นักกีฬาบางคนอาจจะต้องทานยาเลื่อนประจำเดือนเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคกับตารางการซ้อมและการแข่งกีฬาของพวกเค้า แต่เราจำเป็นขนาดนั้นมั้ยที่จะต้องทานยาพวกนั้นเพื่อที่จะยังสามารถออกกำลังกายได้ดีเหมือนเดิม แล้วการออกกำลังกายขณะที่มีประจำเดือนนั้นมันมีผลเสียค้างเคียงหรือมันแค่เพราะความไม่สะดวกในการออกกำลังกายกันแน่ นักวิจัยเลยทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อดูว่าจริงๆแล้วประจำเดือนนั้นมีผลต่อการออกกำลังกายมากแค่ไหน

>> การมีประจำเดือน ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดน้อยลง<<
นักกีฬาแถวหน้าไม่หยุดออกกำลังกายเพียงเพราะมีประจำเดือน แล้วคุณก็ไม่จำเป็นต้องหยุดเช่ยนเดียวกัน นักวิจัยชาวตุรกีทำการวิจัยกับนักกีฬาจำนวน 241 คนเกี่ยวกับผลกระทบในการแข่งขันและประจำเดือน 3 ใน 4 คนกล่าวว่าเค้ารู้สึกแย่ช่วงก่อนมีประจำเดือน 63% บอกว่าปวดประจำเดือนน้อยลงหลังจากการซ้อมและการแข่งขัน 62.2% กล่าวว่าพวกเค้ามั่นใจว่าสามารถออกกำลังกายได้เหมือนปกติเทียบกับช่วงปกติของเดือน การศึกษาของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียตะวันตกกล่าวว่า นักวิ่งหญิง สามารถแข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไม่มีความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนหรือไม่ ข้อควรระวังอย่างเดียวในการออกกำลังกายระหว่างมีประจำเดือนก็คงจะเป็นอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่นปวดท้องมากๆ หรือการที่เลือดออกมากๆ จากการวิจัยจากประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่านักกีฬากระโดดไกลมีประสิทธิภาพดรอปลงในช่วงเป็นประจำเดือน

การออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือนอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นกับหัวเข้าได้ จากผลการวิจัยของชาวออสเตรเลียในการศึกษามัดกล้ามเนื้อของผู้หญิงที่มีประจำเดือนขณะวิ่งบนลู่ เค้าเห็นความแตกต่างในการเคลื่อนตัวของหัวเข้าขณะวิ่งช่วงมีประจำเดือนว่าแตกต่างจากช่วงตกไข่ พบว่าการทำงานของหัวเข่าด้อยลงในช่วงมีประจำเดือน คือการที่หัวเข้าบิดเข้าด้านในขณะวิ่งทำให้กล้ามเนื้อส่วนที่ถูกใช้งานคือกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเท่านั้น แทนที่จะเป็นแฮมสตริงและต้นขาด้านหลัง ซึ่งข่าวร้ายก็คือการทำงานของกล้ามเนื้อที่แปลกไประหว่างมีประจำเดือนจะเป็นสาเหตุแห่งการบาดเจ็บ แต่ก็ยังมีข่าวดีที่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง ในเมื่อเรารู้แล้วว่าการหัวเข่าอาจบาดเจ็บจึงสอนท่าที่ถูกต้องให้กับนักกีฬาเพื่อลดแรงกระแทกที่หัวเข่าและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายโดยใช้ขาเดียวในการบาลานส์ หรือ การกระโดดแบบ plyometric ซึ่งเป็นการโฟกัสที่ฟอร์มของท่ามากกว่าจำนวนครั้ง พร้อมกับการยืดเส้นแฮมสตริงและต้นขาด้านหลัง หลังจากออกกำลังกายอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 15-20 นาที

>>จริงๆแล้วการออกกำลังกายสามารถลดอาการข้างเคียงของประจำเดือนได้<<
จากการวิจัยของวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อช่วยลดอาการก่อนเป็นประจำเดือน เราคงไม่ต้องรอให้นักวิทยาศาสตร์ที่ไหนมาบอกว่าให้ไปออกกำลังกาย เพียงแค่เดินเข้ายิมเลยขณะมี PMS แล้วอารมณ์คุณก็จะดีขึ้น

ดังนั้น ประจำเดือนไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้คุณต้องหยุดออกกำลังกาย นอกจากว่าคุณจะปวดท้องสุดๆหรือเลือดออกเยอะมากเกินไป ถ้าคุณตั้งใจและรักการออกกำลังกายจริงๆ ไม่ว่าอะไร ก็ไม่สามารถหยุดคุณได้ ยกตัวอย่างตัวเจสเอง ประจำเดือนมาวันแรก นัดเทรนเนอร์ ฮีจัดเต็มให้ต่อยมวย เตะกาดสูง ใช้แรงช่วงท้องเยอะมาก ปวดหน่วงๆนิดๆ แต่ก็ไม่ได้ฟอร์มตก แต่ถ้าใครปวดมากๆก็พักเถอะค่ะ ^^ เอาเท่าที่ไหว อย่าฝืนตัวเองมากเกินไป แล้วก็ดื่มน้ำเยอะกันๆนะคะ

แหล่งข้อมูลจาก http://www.shape.com/lifestyle/mind-and-body/exercise-and-your-menstrual-cycle-what-your-period-means-your-workout?_ami_s
Be fit for life
https://www.facebook.com/Jescunyclub