วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของหอไอเฟล

หอไอเฟลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส หากใครที่ได้ไปเมืองน้ำหอมแล้วไม่ได้ไปดูหอไอเฟลนี้เรียกว่ายังไปไม่ถึงก็ อาจจะเป็นได้ นักท่องเที่ยวมากมายก็สนใจไปดูหอไอเฟลนี้แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประวัติ ความเป็นมาของเจ้าหอไอเฟลนี้ งั้นเราไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นของหอไอเฟลกันค่ะ
หอไอเฟลเป็นหอคอยเหล็กตั้งอยู่ที่ Champ de Mars ในกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

หอคอยแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ Gustave Eiffel ทำการสร้างในระหว่างปี 1887-1889 น้ำหนักของหอไอเฟลคือ 7300 ตัน ยอดของหอคอยสามารถเบนออกจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังยอดหอคอยถึง 18 เซ็นติเมตร (7นิ้ว) ทั้งนี้ขึ้นอยูกับอุณหภูมิของเหล็กด้านที่หันหน้าเข้าสู่แสงอาทตย์ซึ่งจะ ขยายตัวเนื่องจากความร้อนที่ได้รับ นอกจากนี้ตัวหอคอยแห่งนี้ยังมีการแกว่งตัวตามแรงลมอีกด้วย โดยการแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 6-7 เซ็นติเมตร (2-3นิ้ว)

ในการก่อสร้างหอคอยแห่งนี้ ใช้คนงานก่อสร้างถึง 300 คน เพื่อประกอบเหล็กจำนวน 18038 ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดถึง 2.5 ล้านตัว ความเสียงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างสูงมาก เนื่องจากหอไอเฟลแตกต่างจากตึกสูงในปัจจุบันตรงที่เป็นหอเปลือย ไม่มีจำนวนชั้น อย่างไรก็ตามมีการเตรียมตัวรักษาความปลอดภัยในการก่อสร้างอย่างเต็มที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการก่อสร้างเพียงคนเดียวเท่านั้น(จริง อ่ะป่าวเนี่ย)

ในระหว่างการก่อสร้าง หอไอเฟลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงรูปร่างของหอคอย Gustave Eiffel ถูกกล่าวหาว่าพยายามสร้างงานศิลปะที่ดูแล้วไม่มีศิลปะ การก่อสร้างให้หอคอยแกว่งตัวได้ไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์(แต่เราว่ามัน ก็สวยดีนะ) แต่อย่างไรก็ตาม Gustave Eiffel ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากงานก่อสร้างสะพาน กลับเป็นผู้ที่เข้าใจความสำคัญของแรงลม และเป็นผู้ที่รู้ว่าการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลก(ในขณะนั้น) จะต้องแน่ใจว่ามันต้องต้านทานลมได้ และในตอนต้นศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลถูกใช้เป็นศูนย์รับส่งสัญญานวิทยุ เมื่อปี 1909 ศูนย์วิทยุถูกก่อสร้างขึ้นอย่างถาวรที่หอไอเฟล และยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน




วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ไวน์องุ่น

เริ่มต้นที่องุ่น
ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการหมักน้ำองุ่นด้วยเชื้อยีสต์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง โดยยีสต์จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกฮอล์ ผลไม้ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ทำไวน์แล้วมีรสชาติอร่อยได้แก่

  • ผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น องุ่น สับปะรด มะเฟือง
  • ผลไม้ที่มีน้ำน้อย เช่น มะยม กระเจี๊ยบ มะดัน ขนุน ละมุด กล้วย ขิง พุทรา สตอเบอรี่ ฯลฯ
  • ผลไม้ที่ใช้ควรเป็นผลไม้ที่แก่ สุกงอมเต็มที่แล้ว เพราะต้องการกลิ่นกลมกล่อมของมัน
ถ้าทำไวน์องุ่น สามารถหมักได้ทั้งผลองุ่น เปลือก เนื้อ เมล็ด รวมทั้งกิ่งก้านก็ยังนำมาหมักได้ เปลือกองุ่นให้กรดแทนนินสูง เพราะมักจะมีละอองอณูของเชื้อยีสต์เป็นพันเป็นหมื่นตัวติดที่ผิวองุ่น และนี่เองที่เป็นตัวการสำคัญของเหล้าองุ่น ไวน์แดงใช้องุ่นกลุ่มสีแดง ม่วงดำ ไวน์ขาวจะทำจากกลุ่ม White Grape ที่ให้สีเหลือง เขียว เปลือกจะไม่มีสารแทนนินเท่ากลุ่มองุ่นแดง ฉะนั้นเหล้าแดงจึงมีแทนนินสูงกว่าเหล้าขาว
พร้อม...หมัก
เมื่อเราคั้นน้ำองุ่นออกมาก็จะนำไปหมักในถังหมัก ที่เรียกว่า วัตส์ ซึ่งมักจะเป็นถังไม้โอ๊ก น้ำที่ได้จากการหมัก เรียกว่า มัสต์ ซึ่งประกอบด้วยตัวยีสต์จำนวนมากนับล้านล้านตัว จะทำปฏิกิริยาละลายน้ำตาลจากความหวานของน้ำองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์โดยต้องหมักในสภาพที่ไม่ใช้อากาศ หรือออกซิเจน ถ้ามีอากาศ หรือออกซิเจน จะทำให้ยีสต์เปลี่ยนน้ำตาล ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ เท่านั้น
เรื่องของยีสต์
ยีสต์ยังแบ่งได้เป็นยีสต์ดีกับยีสต์ไม่ดีอีกด้วย ยีสต์ดีจะเรียกว่า ไวน์ยีส เป็นจุดเริ่มของแอลกอฮอล์ ส่วนยีสต์ไม่ดีที่ต้องกำจัดเรียกว่า ไวลด์ยีสต์ เพราะเป็นตัวการที่ทำให้ไวน์เสียรสชาติ หรือที่เขาเรียกกันว่า ออฟเทสต์ จึงต้องกำจัดด้วยการใส่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงไปผสมในน้ำหมัก ซึ่งการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อกำจัดไวลด์ยีสต์นั้น เป็นวิธีการทำกันมาเนิ่นนานนับเป็นร้อยปี ไม่มีอันตรายและไม่ทำให้ไวน์เสียรสชาติด้วย
เมื่อกำจัดไวลด์ยีสต์เป็นที่เรียบร้อย ก็จะเหลือแต่ไวน์ยีสต์ สำหรับดำเนินการหมักต่อไป โดยต้องหมักในอุณหภูมิระหว่าง 70-80 องศาฟาเรนไฮต์ ไวน์ยีสต์จึงจะทำงาน ได้ดี ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไป ไวน์ยีสต์จะรวมตัวกันเป็นก้อนผลึกในน้ำไวน์ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านั้นไวน์ยีสต์จะอ่อนกำลัง ทำให้การหมักไม่สมบูรณ์ ปริมาณของแอลกอฮอล์จะไม่ขึ้นถึงจุดที่ต้องการ มัสต์ อาจจะเสียก่อนก็ได้
อุณหภูมิจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องควบคุมไม่ให้ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป บางแห่งที่อุณหภูมิของอากาศขึ้นเร็วลงเร็ว ก็จะต้องเตรียมเครื่องทำความเย็นเอาไว้เพื่อลดความร้อนในถังหมัก
ฆ่าเชื้อก่อนบรรจุขวด
เมื่อหมักจนได้ที่ตามต้องการแล้ว บางคนอาจจะใช้ดื่มเลย เรียกว่า ไวน์สด แต่ก็อาจทำให้ท้องเสียได้ และไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน จึงควรต้มฆ่าเชื้อยีสต์ก่อน การต้มจะต้มแค่อุณหภูมิ 60-63 องศาเซลเซียส ไม่ต้มให้เดือด เพระแอลกฮอล์จะระเหย นาน 15-20 นาที และช่วงประมาณ 40 องศาเซลเซียส (ใช้เทอโมมิเตอร์วัด) จะต้องตีไข่ขาว แล้วใส่ผสมลงไปในไวน์ กะประมาณ 1 ฟอง ต่อไวน์ 10 ลิตร แล้วรอจนถึง 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 15 นาที จึงปิดไฟแล้วถ่ายใส่ขวดแก้ว แล้วปิดฝาให้มิดชิดให้แน่น
จากนั้นไวน์เลิศรสก็นอนรอลูกค้าผู้มีรสนิยมมาเลือกซื้อ ดม ชิม อิ่มเอมกับความสุนทรีย์..และ..มีระดับเป็นลำดับต่อไป