วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คริสต์มาส

คริสต์มาสในยุโรป 9 ประเทศ 




Vienna, Austria


  กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (Vienna, Austria)

          ตลาดการค้าที่กรุงเวียนนาแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของศาลาว่าการของเมือง และถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมาก ๆ อีกทั้งยังเป็นตลาดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลกอีกด้วย เพราะตลาดนี้เริ่มมีการค้าขายตั้งแต่เมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว และยิ่งในช่วงเทศคริสต์มาสด้วยแล้วล่ะก็ ที่นี่จะคราคร่ำไปด้วยผู้คนมากมายตลอดความยาวของตลาด มีการประดับตกแต่งสถานที่สวยงามตลอดทาง


Strasbourg, France


  เมืองสตราส์บูร์ก ประเทศฝรั่งเศส (Strasbourg, France)

          ตลาดในเมืองสตราส์บูร์กนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของโบสถ์อันสวยงามที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1590 ในแต่ละปี จะมีการจัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่มากขึ้น ๆ ทุกปี และไฮไลท์เด่น ๆ ที่ห้ามพลาด ก็คือจะมีงานฝีมือสวย ๆ ทั้งจากเด็ก ๆ และผู้ที่มีหัวศิลป์ของเมืองมาขายที่งานนี้อย่างคับคั่ง


Cologne, Germany
ภาพประกอบโดย gallimaufry / shutterstock


  เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี (Cologne, Germany)

          ถ้าคุณ ๆ ได้มีโอกาสไปที่เมืองโคโลญจน์แล้วล่ะก็ จะเห็นได้เลยว่าที่เองแห่งนี้มีการจัดตลาดคริสต์มาสมากถึง 7 แบบ 7 สไตล์ และด้วยความหลากหลายนี้ ทำให้ในช่วงคริสต์มาสของแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี้มากกว่า 4 ล้านคนเลยทีเดียว จุดเด่นสำคัญของเมืองนี้อยู่ "มหาวิหารโคโลญจน์" (Gothic Dom Cathedral) สถาปัตยกรรมที่สร้างในแบบโกธิก ที่จะมีการรวบรวมผลงานศิลปะ งานฝีมือและกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้ลองร่วมสนุกกันมากมายเต็มไปหมด


Dusseldorf, Germany


  เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี (Dusseldorf, Germany)

          ตลาดคริสต์มาสที่เมืองดุสเซลดอร์ฟ ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในตลาดคริสต์มาสที่สวยที่สุดในเยอรมนี ด้วยการออกแบบซุ้มขายของต่าง ๆ ที่มีกว่า 210 ซุ้ม ให้มีความโดดเด่นแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนที่ใด ๆ ในโลก และจะมีของต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวันคริสต์มาส ทั้งปฏิทินคริสต์มาส ช็อกโกแล็ต รวมถึงของประดับตกแต่งต่าง ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีลานสเก็ตน้ำแข็งขนาด 450 ตารางเมตร ไม้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวกันอีกด้วย

  เมืองโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน (Gothenburg, Sweden)

          นี่คือตลาดคริสต์มาสที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสวีเดน โดยจุดเด่นที่สร้างความประทับใจนั่นก็คือ การประดับตกแต่งด้วยสีสันของแสงไฟ ที่เมื่อในยามค่ำคืนแล้วจะสว่างไสวสวยงาม และดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย และหากใครที่อยากหากิจกรรมสนุก ๆ ท้าทายทำด้วย ก็จะมีลานสเก็ตน้ำแข็งและลานสกีไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน


Nuremberg, Germany

  เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี (Nuremberg, Germany)

          แม้ว่าที่เมืองนูเรมเบิร์กแห่งนี้ จะมีซุ้มขายของในตลาดคริสต์มาสเพียงแต่ 180 ซุ้ม แต่ทั้ง 180 ซุ้มที่ว่ากลับมีความโดดเด่นที่ลงตัวในเรื่องการจัดตามประเพณีโบราณ และความสวยงามของสถานที่ราวกับภาพวาดยังไงอย่างงั้น อีกทั้งถ้าเป็นไปได้ ก็ขอแนะนำให้ลองไปอยู่ตั้งแต่ในวันเริ่มงานแรก ๆ ไปดูผลงานของเด็ก ๆ จากโรงเรียนในเมือง ที่มักจะนำของประดับตกแต่งที่เป็นฝีมือของพวกเขาออกมาจำหน่าย เป็นการสร้างบรรยากาศวันคริสต์มาสให้ดูอบอุ่นได้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว



Basel, Switzerland


  กรุงบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Basel, Switzerland)

          ตลาดคริสต์มาสในกรุงบาเซิลเป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และในช่วงนั้น ที่กรุงบาเซิลจะกลายเป็นเมืองแห่งฤดูหนาวที่สวยงามไปโดยปริยาย เพราะสภาพอากาศที่มีหิมะปกคลุม ยิ่งเพิ่มบรรยากาศของเทศกาลคริสต์มาสได้เป็นอย่างดี และในปีนี้ก็แว่ว ๆ กันมาว่าจะมีการเพิ่มเติมซุ้มขายของ และสถานที่ที่น่าสนใจของตลาดให้เพิ่มมากกว่าปีก่อน ๆ อีกด้วย

Zurich, Switzerland


  เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Zurich, Switzerland)

          แม้ว่าที่อื่น ๆ จะจัดตลาดกันในที่กลางแจ้ง แต่สำหรับที่เมืองซูริค ที่กลางแจ้งพวกไม่สนแต่อย่างใด หากแต่จะจัดตลาดคริสต์มาสกันในสถานีรถไฟเลยต่างหาก เพราะเนื้อที่ของสถานีรถไฟซูริคนั้นมีความใหญ่โตและกว้างขวาง นี่เองจึงทำให้ตลาดคริสต์มาสในเมืองซูริคได้รับการยกย่องให้เป็นตลาดในร่มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งไม่ว่าฝนหรือหิมะจะตกมาหนาขนาดไหน ที่นี้ก็สามารถจัดงานได้อย่างสบาย ๆ โดยไม่ต้องกลัวสภาพอากาศจะไม่เป็นใจ


Birmingham, United Kingdom


  เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ (Birmingham, United Kingdom)

          ชาวอังกฤษในเมืองเบอร์มิงแฮมจะมีการฉลองตลาดคริสต์มาสตามแบบฉบับของชาวเยอรมัน ด้วยการนำเอาของขึ้นชื่อทั้ง ไส้กรอกย่าง ไวน์ และการตกแต่งสถานที่ให้เป็นตามสไตล์เยอรมัน พร้อมกับแปลงโฉมพื้นที่จัดงานและตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้เป็น "ตลาดคริสต์มาสแฟรงก์เฟิร์ต" โดยจะมีซุ้มขายของอยู่เต็มพื้นที่มากกว่า 180 ซุ้ม และถือได้ว่าเป็นตลาดคริสต์มาสที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะอังกฤษเลยก็ว่าได้

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์


ในรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine the Great) พระองค์ได้ตั้ง ราชธานีใหม่ในภาคตะวันออก แถบประเทศตุรกีในปัจจุบัน และได้พระราชทานนามราชธานีนี้ว่า "คอนสแตนติโนเปิล" (Constantinople) หรือโรมันตะวันออกซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรไบแซนทีน (Byzantine) อาณาจักรนี้มีความอิสระแยกออกจากโรมันตะวันตก ซึ่งมีโรม (Rome) เป็นศูนย์กลาง แต่เมื่อนานวันอาณาจักรโรมันตะวันออกมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระในทุกด้าน จึงตีตนออกห่างและแยกการปกครองเป็นเอกเทศรวมไปถึงการปกครองทางศาสนา มีความเป็นอิสระจากกรุงโรม ไม่ยอมรับในพระราชอำนาจของพระสันตะปาปา จึงทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นนิกาย กล่าวคืออาณาจักรโรมันตะวันตกนั้นได้รับอิทธิพลคำสอนของปีเตอร์ ซึ่งเข้าไปมีส่วนผสมกลมกลืนกับบทบาททางสังคมและการเมือง ส่วนอาณาจักรโรมันตะวันออกได้รับอิทธิพลทาง วัฒนธรรมของเอเชีย จากจุดนี้เองทำให้ศาสนาคริสต์ต้องแยกออกเป็น 2 นิกาย คือ

นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่สำนักวาติกัน (Vatican) กรุงโรม ใช้ภาษาละตินเป็นภาษาทางศาสนา ประมุขสูงสุดคือพระสันตะปาปา

• เน้นว่าต้องเป็นผู้สืบทอดคำสอนจากพระเยซู
• ประมุข คือ สันตะปาปา และมีพระที่เรียกว่า บาทหลวง
• เป็นนิกายเดียวที่เชื่อเรื่องนักบุญ และแดนชำระวิญญาณผู้ตาย
• รูปเคารพ คือ ไม้กางเขนที่พระเยซูถูกตรึงอยู่

นิกายกรีกออร์ธอดอกซ์ (Greek Orthodox) ไม่มีศูนย์กลางอำนาจในที่ใดโดยเฉพาะ เพราะให้ความสำคัญต่อประมุขนิกายซึ่งอยู่ในประเทศต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน โดยเรียกชื่อประมุขเหมือนกันหมดว่า ปาตริอาร์ค (Patriarch) หรือ อาร์คบิชอบ (Archbishop)

• แยกจากคาทอลิคเพราะเหตุผลทางการเมือง
• รูปเคารพ คือ ภาพ 2 มิติ

ต่อมาศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคได้แตกแยกออกไปอีก โดยบาทหลวง ชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ท่านเกิดความไม่พอใจต่อสภาพการปกครองของสำนักวาติกัน จึงทำหนังสือถึงพระสังฆราชผู้เกี่ยวข้อง แต่กลับได้รับหมายขับออกจากพระศาสนจักรในปี ค.ศ. 1521 มาร์ติน ลูเธอร์ จึงแยกตนเองออกมาตั้งนิกายใหม่ คือ โปรเตสแตนต์ (Protestant)

นิกายโปรเตสแตนท์ เช่น ลัทธิลูเธอร์น และแอกลิแคน
• ไม่พอใจการกระทำคำสอนบางประการของสันตะปาปา
• เน้นคัมภีร์ ไม่มีนักบวช
• รับศีลศักดิ์สิทธิ์เพียง 2 ศีล คือ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท
นิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox) ความเป็นมาสืบย้อนได้ถึงศตวรรษแรกในคริสต์ศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome)ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิยมเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสาร

แม้นว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไปแต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย

ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ

สรุปได้ว่า นิกายออร์ธอด็อกซ์เป็นนิกายแรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของพระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกลจากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็นอิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อในคริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยกจากพวกคาทอลิคและพวกโปรเตสแตนด์

อย่างไรก็ตาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์นี้มีศรัทธาที่เหนียวแน่นในศาสนามาก เราจะเห็นได้ว่า แม้นประเทศทางแถบยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์และประชาชนประเทศตุรกีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์หลายคนยังคงมีศรัทธาที่เหนียวแน่นและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ถูกหลอมเหลาได้ง่ายจาก สภาพแวดล้อมจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังคงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ในบริเวณ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่น่าจะถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยผู้รุกราน
นิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox) ความเป็นมาสืบย้อนได้ถึงศตวรรษแรกในคริสต์ศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome)ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิยมเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสาร

แม้นว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไปแต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย

ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ

สรุปได้ว่า นิกายออร์ธอด็อกซ์เป็นนิกายแรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของพระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกลจากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็นอิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อในคริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยกจากพวกคาทอลิคและพวกโปรเตสแตนด์

อย่างไรก็ตาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์นี้มีศรัทธาที่เหนียวแน่นในศาสนามาก เราจะเห็นได้ว่า แม้นประเทศทางแถบยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์และประชาชนประเทศตุรกีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์หลายคนยังคงมีศรัทธาที่เหนียวแน่นและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ถูกหลอมเหลาได้ง่ายจาก สภาพแวดล้อมจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังคงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ในบริเวณ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่น่าจะถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยผู้รุกราน
นิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox) ความเป็นมาสืบย้อนได้ถึงศตวรรษแรกในคริสต์ศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome)ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิยมเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสาร

แม้นว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไปแต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย

ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ

สรุปได้ว่า นิกายออร์ธอด็อกซ์เป็นนิกายแรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของพระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกลจากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็นอิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อในคริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยกจากพวกคาทอลิคและพวกโปรเตสแตนด์

อย่างไรก็ตาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์นี้มีศรัทธาที่เหนียวแน่นในศาสนามาก เราจะเห็นได้ว่า แม้นประเทศทางแถบยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์และประชาชนประเทศตุรกีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์หลายคนยังคงมีศรัทธาที่เหนียวแน่นและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ถูกหลอมเหลาได้ง่ายจาก สภาพแวดล้อมจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังคงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ในบริเวณ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่น่าจะถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยผู้รุกราน

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ถนนแห่งสยามในประเทศฝรั่งเศส


ช็องเซลีเซ



อาเวอนูว์เดช็องเซลีเซ (ฝรั่งเศส: Avenue des Champs-Élysées, [avəny de ʃɑ̃zeliˈze]) เป็นถนนในเขตที่ 8 ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นย่านการค้าที่ประกอบด้วยโรงละคร คาเฟ่ และร้านค้าหรูหรา สองข้างทางมีต้นเกาลัดที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามปลูกเรียงราย ชื่อ "ช็องเซลีเซ" มาจากคำว่า "ทุ่งเอลิเซียม" จากเทพปกรณัมกรีกในภาษาฝรั่งเศส
ช็องเซลีเซได้รับการขนานนามว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก (La plus belle avenue du monde)[1] โดยมีอัตราค่าเช่าสูงถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สำหรับพื้นที่ 1000 ตารางฟุต (93 ตารางเมตร) สูงที่สุดในยุโรป [2]
ช็องเซลีเซเดิมเป็นท้องทุ่งและสวน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1616 เมื่อมารี เดอ เมดิชิ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส ทรงขยายพื้นที่บริเวณสวนหย่อมของพระราชวังตุยเลอรี (Palais des Tuileries) เป็นถนนที่มีต้นไม้สองข้างทาง ในปี ค.ศ. 1724 ได้รับการขยายไปเชื่อมกับจัตุรัสแห่งดวงดาว (Place de l'Étoile ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นจัตุรัสชาร์ล เดอ โกล ที่เป็นที่ตั้งของประตูชัยฝรั่งเศส)







วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

One Direction


Niall Horan 
Date of Birth: September 13, 1993
Hometown: Mullingar, County Westmeath, Ireland
Audition Song: ‘So Sick’
Liam Payne 
Date of Birth: August 29, 1993
Hometown: Wolverhampton, West Midlands, UK
Audition Song: ‘Cry Me A River’


Zayn Malik
Date of Birth: January 12, 1993
Hometown: West Lane Baildon, Bradford, UK
Audition Song: ‘Le Me Love You’

Louis Tomlinson
Date of Birth: December 24, 1991
Hometown: Doncaster, South Yorkshire, UK.
Audition Song:  ’Hey There Delilah’

Harry Styles 
Date of Birth: February 01, 1994
Hometown: Holmes Chapel, Cheshire, UK
Audition Song: ‘Isn’t She Lovely’


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Bonjour


Je m’appelle Kanitta    TONGUMYAI J'ai 16 ans.
Je suis élève de Français en seconde à l'école Rachiniebourana.
J'habite à Nakhonpathom avec mes parents. J'aime aussi la musique pop et j'aime regarder la télévision.